ฉบับเดือนกันยายน 2565

เกษียณ…แซ่บ
(Happy Retirement Ageing Gracefully)

การเปลี่ยนแปลงชีวิตหลังวัยเกษียณ

การปลดเกษียณจากการทำงานย่อมเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาและวัยอันสมควร สิ่งนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคม มีหลายคนประสบปัญหาในการใช้ชีวิตและการปรับตัวหลังเกษียณ สิ่งที่ช่วยให้สามารถปรับตัวเพื่อให้ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้ราบรื่น ต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าและการสนับสนุนดูแลจากคนในครอบครัว ฉะนั้นการทำความเข้าใจและเรียนรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตหลังเกษียณนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถเตรียมตัวและเตรียมใจในการที่เข้าสู่วัยเกษียณได้ง่ายขึ้น

การเปลี่ยนแปลงชีวิตหลังวัยเกษียณมีอะไรบ้าง


1. บทบาทและหน้าที่ทางสังคม
 บทบาทและหน้าที่ในการทำงานนั้นจะหายไป สิ่งนี้ต้องอาศัยการปรับตัวกับบทบาทและหน้าที่ใหม่ หากไม่ได้วางแผนหรือมีบทบาทใหม่รองรับ อาจทำให้รู้สึกอ้างว้าง ขาดเป้าหมาย ขาดการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง สิ่งที่ช่วยได้ คือ หากิจกรรมหรืองานเล็กๆ น้อยๆ ทำ ช่วยให้เรารู้สึกว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบและต้องดูแล ทำให้มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต


2. สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตนเองเพราะเมื่อถึงวัยเกษียณ นั่นหมายถึงว่า เราได้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ฉะนั้นต้องหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองให้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย การไม่ทำงานหนักเกินไป หรือการไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพ พร้อมกันนั้นต้องหมั่นตรวจสุขภาพให้เป็นประจำ


3. การเข้าสังคม การเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานนั้นน้อยลง อาจทำให้รู้สึกเหงา อ้างว้าง ถ้าหากกลุ่มเพื่อนส่วนใหญ่เป็นเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่ช่วยได้ คือ เราต้องออกไปหาสังคมใหม่ๆ เช่น การเข้ากลุ่มชุมชน กลุ่มสมาคม หรือกลุ่มทางศาสนา ซึ่งทำให้ได้พบเพื่อนหรือสังคมใหม่ๆ


4. การเงิน การใช้เงินหลังเกษียณอาจมีปัญหา หากไม่มีการวางแผนการใช้เงินก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วรายได้หลักจากการทำงานนั้นจะหายไป อาจได้เงินจากการเกษียณมาก้อนหนึ่งหรือได้เป็นเงินบำนาญ แต่ก็ต้องวางแผนการการออมเงินก่อนวัยเกษียณและวางแผนการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายทั่วไป และการเข้าสังคม ซึ่งอาจเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกันกับรายได้ที่ลดลง


5. การดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องด้วยเวลาในการทำงานนั้นขาดหายไปทำให้เหลือเวลาว่างเกิดขึ้นมากมาย สิ่งที่ควรทำ คือ การคิดวางแผนการใช้เวลาที่มีอยู่ว่าจะทำอะไรเพื่อให้ตนเองใช้เวลาที่ว่างอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์


6. ครอบครัว การเข้าสู่วัยเกษียณนั้น สิ่งที่ตามมา คือ การเปลี่ยนบทบาทในครอบครัวจากคนที่หารายได้เข้ามาในบ้านหรือเป็นเสาหลักภายในบ้านกลายมาเป็นวัยผู้สูงอายุในบ้าน โดยอาจมีหน้าที่ที่แตกต่างไป เช่น ดูแลบ้าน อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน


7. อารมณ์และความรู้สึก อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน หลายคนอาจมีความรู้สึกเหงา อ้างว้าง กลัว โดดเดี่ยว รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง ยอมรับไม่ได้กับการเกษียณ ซึมเศร้า หรือรู้สึกใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ต้องอาศัยช่วงเวลาที่ต้องปรับตัว สิ่งที่ช่วยได้ คือ ต้องอาศัยการช่วยเหลือของคนในครอบครัว พูดคุย ประคับประคอง และช่วยวางแผนให้ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ

ที่มา : https://www.manarom.com/blog/Life_changing_after_retirement.html


ที่มา : https://wealthmeup.com/20-08-03-retirementplan/


วางแผนเกษียณต้องมีอะไรบ้าง

ถ้าพูดถึง ‘วัยเกษียณ’ เราคงนึกถึงช่วงอายุ 60 ปีที่ไม่ต้องทำงาน มีอิสระที่จะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ มีเงิน มีบ้าน มีความสุข ความสบายหลังจากทำงานหนักมาตลอดกันใช่ไหมคะ และแน่นอนว่าการเกษียณนั้นไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 60 ปี แล้วถึงจะมีทุกอย่าง อย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้นไป แต่สิ่งเหล่านั้นคือการวางแผนเกษียณมาเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องการเงิน สุขภาพ การใช้ชีวิตต่าง ๆ วันนี้เราได้รวบรวมการวางแผนเกษียณมาฝากกันว่าควรต้องมีอะไรบ้างหากอยากเกษียณแบบไร้กังวล 

1. วางแผนการเงิน 
การวางแผนทางการเงิน ควรเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนตั้งแน่เนิ่น ๆ ว่าปัจจุบันเรามีรายรับเท่าไหร่ รายจ่ายคงที่เท่าไหร่ และหลังเกษียณถ้าเราไม่มีรายรับเพิ่มเราควรมีเงินเก็บที่ใช้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่ เมื่อรู้รายจ่ายคงที่แล้ว เราจะรู้ว่าควรจัดการทางด้านการเงินอย่างไรบ้าง เช่น เก็บ 30% ของเงินเดือน , นำเงินไปซื้อกองทุน , ทำประกันชีวิต หรือซื้อหุ้นที่ไม่มีความเสี่ยง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุที่เราเริ่มวางแผนเกษียณด้วย

2. วางแผนสุขภาพ 
หลายคนอาจจะสงสัยว่าเรื่องสุขภาพทำไมต้องวางแผน แต่แท้ที่จริงแล้วเราจะมีชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุขความไร้กังวลได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องสุขภาพ เหมือนกับคำที่เรามักได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่า ‘ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ’ ดังนั้นสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่เราต้องดูแลตั้งแต่ช่วงที่เรายังแข็งแรง ทั้งเรื่องอาหารที่รับประทาน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวไม่ควรละเลยกับการไปพบแพทย์และดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ชีวิตวัยเกษียณเป็นเรื่องที่ทรมานของทุกคน 

3. วางแผนเตรียมที่อยู่อาศัย
วัยเกษียณเป็นวัยที่ต้องอยู่อาศัยที่บ้านมากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่ไม่ต้องออกไปทำงาน ไม่มีกิจกรรมหรือธุระที่ต้องออกไปข้างนอกทั้งวันเหมือนวัยหนุ่มสาว ดังนั้นการเตรียมพร้อมที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็น เพราะบ้านนั้นเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุผู้สูงอายุกับผู้สูงอายุมากที่สุด ทั้งการลื่นหกล้มในห้องน้ำ การพลัดตกบันได เป็นต้น โดยปกติแล้วผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะได้อาศัยอยู่บ้านในช่วงกลางวันเพียงลำพัง ดังนั้นควรติดตั้งเครื่องเตือนสัญญาณเตือนฉุกเฉินไว้ภายในบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านเมื่อต้องอยู่คนเดียว อย่างเครื่องสัญญาณเตือนฉุกเฉิน “Docare Protect: Model S” ที่สามารถแจ้งเตือนเมื่อผู้สูงอายุต้องการขอความช่วยเหลือไปยังลูกหลานผ่านแอปพลิเคชันทันที ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการช่วยผู้สูงอายุไม่ทันเวลาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้เราอุ่นใจแม้อยู่บ้านเพียงคนเดียว

4. วางแผนสุขภาพใจ
วัยเกษียณเป็นวัยที่ต้องรับมือในด้านของสภาวะจิตใจ เพราะเป็นวัยที่อาจจะไม่มีการพบปะสังคมหมู่เพื่อนได้บ่อยเหมือนวัยหนุ่มสาว เรื่องของความเหงาที่ต้องอยู่บ้านเพียงลำพังโดยไม่มีลูกหลานอยู่ด้วยตลอดเวลา และด้านสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นการเข้าใจชีวิตและยอมรับความจริงกับสถานการณ์รอบข้างที่เปลี่ยนไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้วัยเกษียณไม่เกิดความเครียด โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุสามารถหากิจกรรม เพื่อคลายเหงา โทรคุยกับลูกหลาน หรือออกไปตามสมาคมผู้สูงอายุต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ก็จะช่วยให้มีสุขภาพใจที่ดีได้ 

5. วางแผนกิจกรรม 
การทำกิจกรรมถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ช่วงวัยเกษียณของเราไม่น่าเบื่อ แล้วยิ่งมีเวลามากขึ้น
การได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย แต่ต้องลองพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ตามกำลังของร่างกาย ความถนัด ความเอื้ออำนวยต่าง ๆ ด้วย เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่าง กวาดบ้าน ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ หรืองานอดิเรก เช่น จัดสวน วาดรูป ถ่ายภาพ ร้องเพลง เต้นลีลาศ เป็นต้น แต่ทางที่ดีนั้นการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็อาจมีความเสี่ยงในการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นก่อนเราจะออกไปทำกิจกรรมควรมีเครื่อง “Docare Protect: Model P” เข็มกลัดอัจฉริยะตรวจจับการลื่นล้มอัตโนมัติ ที่จะทำการส่งสัญญาณเตือนเมื่อเกิดเหตุผิดปกติทันที ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุที่ใช้โทรศัพท์และยังทำกิจวัตรนอกบ้านเป็นประจำ แค่นี้เราก็สามารถออกไปทำกิจกรรมได้อย่างสบายใจได้ 

ที่มา : https://www.docareprotect.com/blog-06


5 เคล็ดลับวางแผนชีวิตหลังเกษียณให้มั่นคง

โดยเคล็ดลับง่ายๆ เพื่อวางแผนชีวิตหลังเกษียณมี 5 ข้อ คือ

เคล็ดที่ 1 ออมตั้งแต่เนิ่นๆ
จุดเริ่มต้นชีวิตหลังเกษียณอย่างมีคุณภาพคือมีเงินก้อนไว้รองรับยามจำเป็น และเราจะมีเงินก้อนใหญ่ได้ด้วยการเริ่มออมตั้งแต่วันนี้
การออมเร็วส่งผลแค่ไหน ลองมาดูตัวอย่างการเก็บออมของคนสองคน
– น้องหมี อายุ 30 ปี เริ่มออมเดือนละ 1,000 บาท 
– พี่แมว อายุ 40 ปี เก็บออมเดือนละ 2,000 บาท
นำเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี มาดูกันว่าถ้า ทั้งคู่เก็บเงิน ยาวไปจนถึงวันเกษียณในอายุ 60 ปี จะมีเงินเท่าไหร่

เคล็ดที่ 2 ไม่เมินความเสี่ยงที่มี

หากจะพูดถึงวัยเกษียณ สิ่งหนึ่งที่แม้อยากจะเลี่ยงแต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้คืออาการเจ็บป่วย การเจ็บออดๆ แอดๆ ก็ว่าลำบากแล้ว แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมาอาจส่งผลกระทบกับทั้งตัวคุณและคนรอบข้าง ไปจนถึงเงินเก็บออมซึ่งอาจหมดไปอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ช่วยได้อย่างแรกคือการหมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ เพราะร่างกายเรานับวันก็เสื่อมถอยไปตามสภาพ แต่จะเสื่อมช้า เสื่อมเร็ว ล้วนขึ้นกับสิ่งที่ทุกคนทำกันในช่วงเวลาปัจจุบัน อีกทั้งการออกกำลังกายยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้าย หรือบรรเทาไม่ให้โรคลุกลามได้ง่ายในอนาคตด้วย

นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพตัวเอง อีกสิ่งที่สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้คือการทำประกันครับ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยหรือประกันสุขภาพ ที่นอกจากจะแบ่งเบาค่ารักษาได้แล้ว หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา ฝั่งลูกหลานก็ยังได้เงินก้อนที่ช่วยให้ครอบครัวยังสามารถก้าวเดินไปต่อได้ด้วยเช่นกัน

เคล็ดที่ 4 แวดล้อมด้วยมิตรสหาย

สิ่งที่ผู้สูงอายุวัยเกษียณหลายคนต้องเผชิญ…คือความเหงา

ถึงจะดูแปลกแต่ขอบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องตลกแต่อย่างใด เราเห็นผู้สูงอายุในสังคมมากมายไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือยังไม่ได้พัฒนาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่มีใครรู้ อีกทั้งยังมีอาการเฉา หรือหมดอาลัยตายอยากเพราะไม่มีคนคุยด้วย

ดังนั้นสิ่งที่คนวัยเกษียณจะลืมไม่ได้เลยคือการ “หาเพื่อน” ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนกลุ่มเก่าๆ หรือกลุ่มใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นวัยเดียวกันก็ได้ ขอเพียงแค่พูดคุยด้วยกันเพื่อคลายเหงา ช่วยเหลือกันในบางเวลา มิตรภาพเหล่านี้จะช่วยให้การวางแผนชีวิตวัยหลังเกษียณมีคุณค่าขึ้นอีกมาก

เคล็ดที่ 5 รู้ใจว่าจะทำอะไรในวัยหลังเกษียณ

ต่อให้บอกว่าวัยเกษียณคือวัยที่จะได้พักผ่อนจากการทำงาน แต่ก็ใช่ว่าจะปล่อยชีวิตให้ว่างเปล่าไปเลย นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว จะดีกว่ามั้ยที่จะหางานอดิเรกหรืองานเบาๆ ทำเพื่อหารายได้เสริม ไปจนถึงผ่อนคลายตัวเอง เช่น งานเขียน งานศิลปะ ไปจนถึงการทำอาหาร การเลือกเรียนอะไรเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย จากการอยู่บ้านรดน้ำต้นไม้ อาจศึกษาเพิ่มเรื่องการจัดสวน ปลูกผักสวนครัวลดค่าใช้จ่ายจิปาถะไปได้อีกทาง

ที่มา : https://www.brh.go.th/index.php/2019-02-27-04-12-21/556-5-4


ใส่ความเห็น