Bully ไม่มีใครอยากได้ยิน (Stop Bullying Show Respect)
Cyberbullying คือ การกลั่นแกล้งผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และทางสื่อออนไลน์ อาจมาในรูปแบบของข้อความ รูปภาพล้อเลียน การกระจายข่าวลือผิด ๆ รวมไปถึงการไม่ให้เข้าร่วมกลุ่มหรือกิจกรรมต่าง ๆ เด็กอาจถูกกลั่นแกล้งผ่านทาง social media อีเมล แอปพลิเคชัน หรือเกมออนไลน์ก็ได้ ความน่ากลัวของ cyberbullying คือ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หาตัวคนที่แกล้งยาก เนื่องจากอาจใช้ account ปลอมหรือนามแฝง และการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ยังแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว
ผลกระทบของ cyberbullying
-ส่งผลกระทบต่อการเรียน เด็กขาดสมาธิในการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน
-ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ เด็กยังไม่ความเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดในอนาคต
ทำอย่างไรดีเมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์
-อย่าขู่ลูกว่าจะยึดมือถือหรือจำกัดการเล่นสื่อออนไลน์ของลูก เนื่องจากลูกจะมองว่าเป็นการถูกลงโทษ ทำให้ต่อไปเด็กไม่กล้าบอกปัญหาเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งอีก
-เก็บหลักฐานที่ถูกแกล้ง เช่น บันทึกภาพหน้าจอ
-คุยกับลูกให้ลูกเล่าสิ่งที่ตนเองเจอ ถามความรู้สึกของลูก ฟังลูกอย่างเข้าใจ การที่ลูกมีใครสักคนที่รับฟังและให้กำลังใจจะช่วยให้เด็กจัดการปัญหาได้ดีขึ้น
-ชวนลูกคิดวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นได้ โดยให้ลูกเสนอวิธีและลองทำดู โดยมีพ่อแม่คอยรับฟังไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
-ในสื่อ social media ต่าง ๆ สามารถ report หรือ ร้องเรียน พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ถ้าคนที่แกล้งเป็นเพื่อนที่โรงเรียนอาจปรึกษาทางโรงเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไข แต่หากการกลั่นแกล้งมีการข่มขู่ทำร้ายร่างกายควรแจ้งตำรวจ
การป้องกัน cyberbullying
-คุยกับลูกเรื่อง “ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital citizenship)” การเคารพผู้อื่นในโลกออนไลน์และข้อความด้านลบส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร และพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้สื่อในเชิงบวก
-ถามลูกเรื่องข้อความต่าง ๆ ที่เขาเห็น ส่ง หรือได้รับ และถามความรู้สึกของลูก
-ตั้งกฎกติกาในการใช้สื่อออนไลน์
ที่มา: https://www.healthychildren.org/English/family-life/Media/Pages/Cyberbullying.aspx
แนวทางการดำเนินการป้องกัน “การบูลลี่ในสถานศึกษา”
ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/11FrRmIgO0ZNAhbxwrGL2AliL-7GLdIEq/view?usp=sharing
ที่มา : (4) 📢 แนวทางการดำเนินการป้องกัน… – ประชาสัมพันธ์ สพฐ. | Facebook